banner

วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2559

เมื่อเราไม่เผาตอซังข้าวในนา

เมื่อเราไม่เผาฟางข้าว แล้วจะทำอย่างไร เพื่อให้ฟางข้าวเปลื่อยหรือย่อยสลาย 
 เอนไซม์ย่อยสลายซังข้าว 7 วันเห็นผล ดีดีดินเดิม คือเอนไซม์ที่มีอานุภาพในการย่อยสลาย ตอซังข้าว ฟางข้าวในนาข้าว ช่วยลดการเผาตอซังข้าว ลดมลพิษตามนโยบายรัฐบาล เมื่อเราไม่มีการเผาตอซังข้าวฟางข้าวแล้ว จะทำให้ดินในที่นาของเรากลับมามีชีวิตชีวา เพราะว่าจุลินทรีย์ในกลับมามีชีวิต สังเกตุได้ง่าย นาที่ใช้ ดีดีดินเดิม ฉีดพ่นย่อยสลายตอซังข้าว จะมีขุยไส้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน และจากประสบการณ์ที่ ดีดีดินเดิม รับใช้พี่น้องเกษตรกร ชาวนาในภาคกลาง จึงให้การต้อนรับไว้ใจ ใช้ ดีดีดินเดิม เท่านั้น 

   

เอนไซม์ย่อยสลายซังข้าว 5 วันเห็นผล

ดีดีดินเดิม คือเอนไซม์ที่มีอานุภาพในการย่อยสลาย ตอซังข้าว ฟางข้าวในนาข้าว ช่วยลดการเผาตอซังข้าว ลดมลพิษตามนโยบายรัฐบาล เมื่อเราไม่มีการเผาตอซังข้าวฟางข้าวแล้ว จะทำให้ดินในที่นาของเรากลับมามีชีวิตชีวา เพราะว่าจุลินทรีย์ในกลับมามีชีวิต สังเกตุได้ง่าย นาที่ใช้ ดีดีดินเดิม ฉีดพ่นย่อยสลายตอซังข้าว จะมีขุยไส้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน และจากประสบการณ์ที่ ดีดีดินเดิม รับใช้พี่น้องเกษตรกร ชาวนาในภาคกลาง จึงให้การต้อนรับไว้ใจ ใช้ ดีดีดินเดิม เท่านั้น






ข้อมูลเพิ่มเติม ติดต่อครูชอร์ว 089 - 496 - 8695 Line : shorvberry


วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2559

การทำนา

อาชีพชาวนาคือกระดูกสันหลังของชาติ

ยิ่งภาคกลางของประเทศไทยเรามีสมญานามที่ว่า อู่ข้าวอู่น้ำเลยทีเดียว แต่ปัจจุบันนี้การทำนาก็ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีทำ จากการที่เมื่อก่อนพ่อแม่เราทำนาจะใช้เวลากันเป็นเดือนๆ ด้วยทุกวันนี้เทคโนโลยี่ที่ทันสมัยทำให้การทำเกษตรกรรมต่างได้หย่นระยะเวลาด้วย และการทำแบบหย่นระยะเวลานี่แหละครับที่ทำให้เกษตรกร มักจะคิดหาวิธีที่ทำอย่างไรรวดเร็วและสะดวกสบายอยู่ตลอดเวลา จึงได้เกิดการใช้เคมีกันเป็นอย่างมาก
วันนี้หากเราไม่รีบกลับมาช่วยกันตักเตือนกันแล้วหันกลับมาใช้วิธีการเกษตรแบบไม่ใช้เคมีหรือที่เราเรียกกันว่าเกษตรอินทรีย์ชีวะภาพ ก็จะเกิดปัญทั้งสุขภาพและปัญหาของประเทศตามมาอีกมากมาย
"เดิมเดินดิน"


การทำนา



การทำนา หมายถึง การปลูกข้าวและการดูแลรักษาต้นข้าวในนา ตั้งแต่ปลูกไปจนถึงเก็บเกี่ยว การปลูกข้าวในแต่ละท้องถิ่นจะแตกต่างกันไปตามสภาพของดินฟ้าอากาศ และสังคมของท้องถิ่นนั้น ๆ ในแหล่งที่ต้องอาศัยน้ำจากฝนเพียงอย่างเดียว ก็ต้องกะระยะเวลาการปลูกข้าวให้เหมาะสมกับช่วงที่มีฝนตกสม่ำเสมอ และเก็บเกี่ยวในช่วงที่ฤดูฝนหมดพอดี เนื่องจากแต่ละท้องถิ่นมีสภาพดินฟ้าอากาศที่แตกต่างกัน
สำหรับการทำนาในประเทศไทยมีปัจจัยหลัก 2 ประการ เป็นพื้นฐานของการทำนาและเป็นตัวกำหนดวิธีการปลูกข้าว และพันธุ์ข้าวที่จะใช้ในการทำนาด้วยหลัก 2 ประการ คือ

1.
สภาพพื้นที่ ( ลักษณะเป็นพื้นที่สูงหรือต่ำ )  และภูมิอากาศ
2.
สภาพน้ำสำหรับการทำนา
ฤดูทำนาปีในประเทศไทยปกติจะเริ่มราวเดือนพฤษภาคมถึง กรกฎาคม ของทุกปี ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝน เมื่อ 3 เดือนผ่านไป ข้าวที่ปักดำหรือหว่านเอาไว้จะสุกงอมเต็มที่พร้อมเก็บเกี่ยว ส่วนนาปรัง สามารถทำได้ตลอดปี เพราะพันธุ์ข้าวที่ใช้ปลูกเป็นพันธุ์ที่ไม่ไวต่อช่วงแสง เมื่อข้าวเจริญเติบโตครบกำหนดอายุก็จะสามารถเก็บเกี่ยวได้
การทำนามีหลักสำคัญ คือ
    1. การเตรียมดิน ก่อนการทำนาจะมีการเตรียมดินอยู่ 3 ขั้นตอน
  • การไถดะ เป็นการไถครั้งแรกตามแนวยาวของพื้นที่กระทงนา (กรณีที่แปลงนาเป็นกระทงย่อยๆ หลายกระทงในหนึ่งแปลงนา) เมื่อไถดะจะช่วยพลิกดินเพื่อให้ดินชั้นล่างได้ขึ้นมาสัมผัสอากาศ ออกซิเจน และเป็นการตากดินเพื่อทำลายวัชพืช โรคพืชบางชนิด การไถดะจะเริ่มทำเมื่อฝนตกครั้งแรกในปีฤดูกาลใหม่ หลังจากไถดะจะตากดินเอาไว้ประมาณ 1 - 2 สัปดาห์
  • การไถแปร หลังจากที่ตากดินเอาไว้พอสมควรแล้ว การไถแปรจะช่วยพลิกดินที่กลบเอาขึ้นการอีกครั้ง เพื่อทำลายวัชพืชที่ขึ้นใหม่ และเป็นการย่อยดินให้มีขนาดเล็กลง จำนวนครั้งของการไถแปรจึงขึ้นอยู่กับชนิดและปริมาณของวัชพืช ลักษณะดินและระดับน้ำ ในพื้นที่ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย แต่โดยทั่วไปแล้วจะไถแปรเพียงครั้งเดียว
  • การคราด เพื่อเอาเศษวัชพืชออกจากกระทงนา และย่อยดินให้มีขนาดเล็กลงอีก จนเหมาะแก่การเจริญของข้าว ทั้งยังเป็นการปรับระดับพื้นที่ให้มีความสม่ำเสมอ เพื่อสะดวกในการควบคุม ดูแลการให้น้ำ

ไถคราดด้วยควายเมื่อ  20 ปีก่อน  



ปัจจุบันที่ทันสมัย
2. การปลูก การปลูกข้าวสามารถแบ่งได้เป็น 2 วิธี คือ การปลูกด้วยเมล็ดโดยตรง ได้แก่ การทำนาหยอดและนาหว่าน และ การเพาะเมล็ดในที่หนึ่งก่อน แล้วนำต้นอ่อนไปปลูกในที่อื่นๆ ได้แก่ การทำนาดำ

การทำนาหยอด ใช้กับการปลูกข้าวไร่ตามเชิงเขาหรือในที่สูง
  • วิธีการปลูก หลังการเตรียมดินให้ขุดหลุมหรือทำร่อง แล้วจึงหยอดเมล็ดลงในหลุมหรือร่อง จากนั้นกลบหลุมหรือร่อง เมื่อต้นข้าวงอกแล้วต้องดูแลกำจัดวัชพืชและศัตรูพืช

การทำนาหว่าน ทำในพื้นที่ควบคุมน้ำได้ลำบาก วิธีหว่าน ทำได้ 2 วิธี คือ การหว่านข้าวแห้ง และการหว่านข้าวงอก
  • การหว่านข้าวแห้ แบ่งตามช่วงระยะเวลาของการหว่านได้ 3 วิธี คือ
1.   การหว่านหลังขี้ไถ ใช้ในกรณีที่ฝน มาล่าช้าและตกชุก มีเวลาเตรียมดินน้อย จึงมีการไถดะเพียงครั้งเดียวและไถแปรอีกครั้งหนึ่ง แล้วหว่านเมล็ดข้าวลงหลังขี้ไถ เมล็ดพันธุ์อาจเสียหายเพราะหนู และอาจมีวัชพืชในแปลงนามาก
2.   การหว่านคราดกลบ เป็นวิธีที่นิยมมากที่สุด จะทำหลังจากที่ไถแปรครั้งสุดท้ายแล้วคราดกลบ จะได้ต้นข้าวที่งอกสม่ำเสมอ
3.   การหว่านไถกลบ มักทำเมื่อถึงระยะเวลาที่ต้องหว่าน แต่ฝนยังไม่ตกและดินมีความชื้นพอควร หว่านเมล็ดข้าวหลังขี้ไถแล้วไถแปรอีกครั้ง เมล็ดข้าวที่หว่านจะอยู่ลึกและเริ่มงอกโดยอาศัยความชื้นในดิน
  • การหว่านข้าวงอก (หว่านน้ำตม) เป็นการหว่านเมล็ดข้าวที่ถูกเพาะให้รากงอกก่อนที่จะนำไปหว่านในที่ที่มีน้ำ ท่วมขัง เพราะหากไม่เพาะเมล็ดเสียก่อน เมื่อหว่านแล้วเมล็ดข้าวอาจเน่าเสียได้ การเพาะข้าวทอดกล้า ทำโดยการเอาเมล็ดข้าวใส่กระบุง ไปแช่น้ำเพื่อให้เมล็ดที่มีน้ำหนักเบาหรือลีบลอยขึ้นมาแล้วคัดทิ้ง แล้วนำเมล็ดถ่ายลงในกระบุงที่มีหญ้าแห้งกรุไว้ หมั่นรดน้ำเรื่อยไป อย่าให้ข้าวแตกหน่อ แล้วนำไปหว่านในที่นาที่เตรียมดินไว้แล้ว


  • การทำนาดำ เป็นการปลูกข้าวโดยเพาะเมล็ดให้งอกและเจริญเติบโตในระยะหนึ่ง แล้วย้ายไป
ปลูกในที่หนึ่ง สามารถควบคุมระดับน้ำ วัชพืชได้ การทำนาดำแบ่งได้เป็น 2 ขั้นตอน คือ
  • การตกกล้า เพาะเมล็ดข้าวเปลือกให้มีรากงอกยาว 3 - 5 มิลลิเมตร นำไปหว่านในแปลงกล้า ช่วงระยะ 7 วันแรก ต้องควบคุมน้ำไม่ให้ท่วมแปลงกล้า และจะสามารถถอนกล้าไปปักดำได้เมื่อมีอายุประมาณ 20 - 30 วัน
  • การปักดำ ชาวนาจะนำกล้าที่ถอนแล้วไปปักดำในแปลงปักดำ ระยะห่างระหว่างกล้าแต่ละหลุมจะมีความแตกต่างกันขึ้นกับลักษณะของดิน คือ ถ้าเป็นนาลุ่มปักดำระยะห่าง เพราะข้าวจะแตกกอใหญ่ แต่ถ้าเป็นนาดอนปักดำค่อนข้างถี่ เพราะข้าวจะไม่ค่อยแตกกอ
 นาดำ
นาหว่าน